Support
TT Network Integration
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

PLM คืออะไร

ttni@hotmail.com | 24-07-2561 | เปิดดู 4166 | ความคิดเห็น 0
 

PLM คืออะไร

PLM ย่อมาจาก Product Life Cycle Management หรือการจัดการวิวัฒจักร์ของผลิตภัณฑ์  ได้ถูกใช้ครั้งแรกในอุสาหกรรมอากาศยานยนต์ โดยที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในการจัดการทรัพยากรจากหลายๆฝ่าย ยกตัวอย่างเช่น Model รุ่นใหม่อย่าง A380 ที่มีชิ้นส่วนกว่า 4 ล้านชิ้น ซึ่งมาจากกว่า 1,500 ผู้ผลิต ลองนึกดูสิครับว่าจะต้องมีการจัดการที่มีระเบียบขนาดไหนถึงจะต้องควบคุมการทำงานได้ถี่ถ้วน
 
 
จริงๆแล้ว PLM ไม่ได้ใช้ได้แค่ในอุตสาหกรรมอากาศยานยนต์เราสามารถประยุกต์ใช้กับงานการผลิตหรือมีข้อมูลมากมาย ทั้งนี้เพื่อการลดเวลาหรือลดความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ โดยทั้งนี้ PLM สามารถใช้งานได้หลาย User พร้อมกัน เข้าถึงทรัพยากรส่วนเดียวกัน ในประเทศที่ต่างกัน , สำหรับการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ทรัพยากรเสียหายอย่างไม่น่าจะเสีย อีกทั้งการทำงานในหลายๆขั้นตอนที่ติดกัน อาจจะทำให้การเข้าสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์ต้องเลื่อนออกไป หรือมีการเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ,ทั้งนี้การทำงานหลักๆ ของ PLM ก็คือ การประสานงานเกี่ยวกับคน,ข้อมูล หรือ ขั้นตอนการทำงานที่อ้างอิงถึงวัฒจักรผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะลดความผิดพลาด ลดขั้นตอน และ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดได้เร็วยิ่งขึ้น .การทำงานของ PLM จะควบคุมตั้งแต่การร่าง Concept ไปจนถึงการทีผลิตภัณฑ์ออกไปสู่ท้องตลาด 
 

 

สี่ขั้นตอนของวิวัฒนาการณ์ของผลิตภัณฑ์

วิวัฒนาการณ์ของผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกได้ 4 ระยะ โดยเริ่มจาก Concept การสร้างผลิตภัณพ์ จวบจนถึงการส่งผลิตภัณฑ์และการรักษาหลังการขาย
 
 

1.Concept

PLM จะเริ่มจากระยะแรกคือ Concept หรือ Idea ในการสร้างผลิตภัณฑ์ จะเป็นส่วนในการที่เก็บข้องมูลของตลาดและผู้บริโภคที่ต้องการที่จะใช้ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทเสื้อผ้า ในระยะ Conception จะเป็นในส่วนของการดูเทรนด์ของตลาด ณปัจจุบัน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจสำหรับ Designer เพื่อในการออกแบบเสื้อผ้าที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภค
 
 
 

2 . Design

หลังจากที่ได้ไอเดียในการออกแบบผลิตภัณฑ์เสร็จแล้ว ,ก็ถึงเวลาที่ต้องลงมือทำ Designer จะลงมือวาดและลงรายเอียดอย่างเช่น ขนาด สี หรือ วัสดุที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ดูว่าเหมือนกับสิ่งที่ได้จากขั้นตอนแรกหรือเปล่า ถ้าไม่,ก็จะมีการแก้ไข ก่อนที่จะมีการผลิตจริง เพื่อที่จะได้ถึงมือผู้บริโภคอย่างถูกต้อง เป็นการรวบรวมเอกสารไว้ตรงกลางสำหรับผู้เกี่ยวข้องทุฝ่าย หากมีการแก้ไขก็สามารเข้าถึงไฟล์ที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไฟล์ล่าสุด นอกจากนี้ยังมีเครื่องมีในการทำ Project Management ที่สามารถควบคุมเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำงาน
 
 
 

3.Production

สืบเนื่องจากข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่แล้ว ,ดีไซน์ของผลิตภัณฑ์จะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต(Production Phase) ของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ จึงได้มีการตรวจสอบการทำผลิตภัณฑ์ได้ตรงความต้องการที่ถูกออกแบบขึ้นหรือไม่ ชิ้นส่วนที่นำมาประกอบต้องตรวจสอบว่ามาจากที่ไหน ราคาเท่าไร มีจำนวนเท่าไร ทั้งนี้เพื่อการควบคุมเวลาการผลิต,สั่งหรือ ตั้งราคา ,ข้อมุลต่างๆ หลากหลายตัวแปร เพื่อที่จะได้ประเมิน ความล่าช้า ค่าใช้จ่ายที่อาจจะเพิ่มขึ้น หรือการคาดการณ์สิ่งต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นแบบไม่ได้คาดคิด
 
 
 

4.Distribution & Maintenance

การส่งผลิตภัณฑ์และการบำรุงรักษาเป้นขั้นตอนสุดท้ายของ วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เป็นการดูแลระบบ Logistics ขงผลิตภัณฑ์ใหถึงมือร้านค้าได้ตรงตามเวลาและตามจำนวน ทั้งนี้ยังสามารถตรวจสอบความต้องการของผู้บริโภคตามข้อมูลที่ได้รับจากร้านค้า เพื่อนำไปวางแผนการผลิตในอนาคต ข้อมูลต่างๆ เช่น ยอดการขาย หรือค่าความพึงพอใจของลูกค้าจะถูกเก็บเพื่อไปพัฒนาระบบการทำงาน
 
 

ความคิดเห็น

วันที่: Sat Apr 27 01:47:33 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0